วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

คำถาม 5 ข้อ

1.ประเภทของศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคืออะไรบ้าง
                ก. วิจิตรศิลป์
                ข. ประณีตศิลป์
                ค. ประยุกต์ศิลป์
                ง. ถูกทุกข้อ
2.จิตรกรรม (Fine Art) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทอะไรบ้าง
                ก. ภาพพิมพ์ รูปปั้น
                ข. ภาพวาด ภาพเขียน
                ค. ภาพพิมพ์ ภาพวาด
                ง. ถูกทุกข้อ
3.วิจิตรศิลป์เรียกอีกอย่างว่าอะไร
                ก. ประณีตศิลป์
                ข. วิจิตรศิลป์
                ค. ประยุกต์ศิลป์
                ง. ถูกทุกข้อ
4.ประติมากรรม (Sculpture) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
                ก. ประติมากรรมนูนต่ำ
                ข. ประติมากรรมนูนสูง
                ค. ประติมากรรมลอยตัว
                ง. ถูกทุกข้อ
5.สถาปัตยกรรม (Architecture) คือ
                ก. การออกแบบ
                ข. วาดรูป
                ค. แกะสลักไม้
                ง. ถักท้อ




               

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความกลมกลืน & ความขัดแย้ง

ความกลมกลืน (Harmony)
               

               โดยทั่วไป หมายถึงการประสานเข้าสนิทกัน กลมกลืน ปรองดอง สามัคคี ลงรอย ในทางทัศนศิลป์ ความกลมกลืน หมายถึง การรวมกันของ หน่วยย่อยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ คือได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และการจัดวางองค์ประกอบ เช่นจ้ังหวะ ช่องว่าง


ความกลมกลืนด้วยเส้น
  ความกลมกลืนของสีโทนร้อน



 ความขัดแย้ง (contrast)

                    ความขัดแย้ง หมายถึง ความแตกต่าง (Opposition) ของ ส่วนประกอบมูลฐานที่อยู่ร่วมกัน (Juxtaposition) เช่น ขนาดใหญ่ / เล็ก, รูปร่างเหลี่ยม / มน, พื้นผิวหยาบ / ละเอียด ,น้ำหนักอ่อน / แก่ ,ทิศทางของเส้นตั้ง / นอน ,สีที่แตกต่างในวงล้อสี เช่น เขียว /แดง , น้ำเงิน / ส้ม เป็นต้น รวมทั้งความแตกต่างระหว่างส่วนประกอบมูลฐาน กับหลักการทัศนศิลป์ เพื่อสร้างให้ผลงานนั้น มีความงามเด่นชัด ช่วยเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในจุดสำคัญของการ ออกแบบ ให้เป็นจุดสน ใจขึ้น ทำให้ งานออกแบบนั้นมองดูไม่น่าเบื่อ ไม่ซ้ำซาก ไม่จำเจทำให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้างานออกแบบนั้น ขาดความแตกต่าง หรือ มีความกลมกลืนกันมากเกินไป ก็จะ ทำให้การออกแบบนั้นน่าเบื่อ ซ้ำซากจืดชืด ไม่น่าสนใจ แต่ก็มีข้อควรระวังในการ สร้างความแตกต่างก็คือ หากในงานทัศนศิลป์นั้น มีความแตกต่างมาก และอยู่อย่าง กระจัดกระจายแล้ว จะเป็นการทำลาย เอกภาพของงานศิลปะนั้น ฉนั้นการสร้างความแตกต่าง ย่อมอยู่ภายใต้ กฎเกณฑ์ของ เอกภาพ (Unity) ด้วย


การสร้างความขัดแย้งด้วยพื้นผิว


การสร้างความขัดแย้งด้วยขนาด






ทำให้เกิดเป็นการประสานเข้า กันได้อย่างสนิท โดยไม่มีความขัดแย้ง ทำให้ผลงานการออกแบบ ทัศน

ขนาด สัดส่วน

ความหมายของขนาดและสัดส่วนในทางทัศนศิลป์

ขนาด (Size หรือ Scale) สัดส่วน (Proportion)
เป็นคำที่มีความหมายทั้งคล้ายกัน และ แตกต่างกัน เล็กน้อย แต่มีความความสัมพันธ์กันตลอดเวลา คือเป็นความสัมพันธ์ (Relative)ของส่วนย่อย (Detail) กับส่วนรวม (Mass) กล่าวคือ
ขนาด เป็นส่วนย่อย (Detail) หมายถึง ขนาดความใหญ่ ความเล็ก ความกว้าง ความยาว หรือความลึก ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งวัดได้ตามมาตรา ที่มนุษย์ได้กำหนดหน่วยวัดขึ้นมา เพื่อเป็นมาตรฐานใช้เรียกกัน
สัดส่วน เป็นส่วนรวม (Mass) หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งสองสิ่ง ที่มีขนาดต่างกัน เช่นการที่ี่จะระบุว่าขนาดนั้นมีความใหญ่ เล็ก หรือมีความเหมาะเจาะพอดีแค่ใหนนั้น ต้องนำไปเปรียบกับขนาดโดยส่วนรวม (Mass) ที่เรียกว่าสัดส่วน (Proportion)


 ขนาดที่เหมาะสม


ขนาดที่ไม่เหมาะสม

  

สัดส่วน หมายถึง  ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดขององค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง และรวมถึง
 ความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย     ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่
 มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจ
 พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้

1.1  สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน สัตว์  พืช ซึ่งโดยทั่วไป
 ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ  จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด      หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ
 สร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า
 "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า  ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม"  ทำให้สิ่งต่าง ๆ
 ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว





1.2  สัดส่วนจากความรู้สึก    โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง
 อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง  เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย  สัดส่วนจะช่วย
 เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่น
 นี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ
 ความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น   กรีก    นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็น
 อุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง    จึงแสดงถึงความเหมือน
 จริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญานที่น่ากลัว ดังนั้น
 รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป





วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

งานชิ้นที่ 3

                                                         จังหวะของภาพ
                                                           จุดเด่นหลัก

                                                             จุดเด่นรอง

ชื่อนางสาวธนารักษ์ แสนธนู เลขที่ 10 พณ.2/12 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เอกภาพ ความสมดุลเท่ากัน ความสมดุลไม่เท่ากัน

                                                            เอกภาพ

                                                      ความสมดุลเท่ากัน


                                                    ความสมดุลไม่เท่ากัน

                         นางสาวธนารักษ์ แสนธนู เลขที่10 พณ.2/12 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ